8/3/57

อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์เนื่องจากถ่ายเหลวจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร

อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์เนื่องจากถ่ายเหลวจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร

ข้อมูลสนับสนุน
s:-
o: -ถ่ายอุจจาระวันละ 5-6 ครั้ง อุจจาระเป็นน้ำ
-มีไข้ T= 37.7 องศาเซลเซียส
-WBC = 12,590 cells/mm
-Neutrophil = 72.8%
-Lymphocyte = 18.1%

เป้าหมาย
ไม่เกิดภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์

เกณฑ์การประเมิน
-ผิวหนังชุ่มชื้น ความยืดหยุ่นของผิวหนังปกติ
-ปัสสาวะมากกว่า 30 cc/hr
-BP=มากกว่า 80/50 mmHg
-Na= 135-145 mmol/L
-K= 3.5-5 mmol/L

กิจกรรม
1.สังเกตภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์ เช่น ผิวหนังแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ตาลึกโบ๋ ปัสสาวะน้อย ซึม ตัวเย็น เป็นต้น
เพราะจะช่วยในการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะขาดน้ำได้
2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำ 5%DN/4 500 ml vein drip 50ml/hr
เพราะ 5%DN/4 เป็น Isotonic solution จะช่วยทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการถ่ายเหลว
3.ดูแลให้ ORS จิบบ่อยๆ
เพราะ ORS เป็นผงน้ำตาลเกลือแร่ผสมน้ำ ใช้ทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการถ่ายเหลว หรืออาเจียนป้องกันภาวะช็อก เนื่องจากร่างกายขาดน้ำ
4.บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออก และปริมาณของน้ำปัสสาวะ
เพราะเป็นการประเมินการสมดุลของน้ำเข้าออกของร่างกายและถ้าปัสสาวะออกน้อยอาจแสดงถึงภาวะขาดน้ำได้
5.วัด Vital sign ทุก 4 ชม. 
เพราะเป็นการประเมินสัญญาณชีพของร่างกายโดยเฉพาะความดันโลหิต ในเด็กถ้า BP ต่ำกว่า 80/50 mmHg แสดงถึงภาวะช็อคจากการขาดน้ำได้
6.ติดตามผล Lab Na K
เพราะ Na K เป็นค่าที่บ่งถึงเกลือแร่ภายในร่างกายและช่วยในการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะขาดน้ำและอิเล็คโทรลัยท์ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น