8/3/57

อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์เนื่องจากถ่ายเหลวจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร

อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์เนื่องจากถ่ายเหลวจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร

ข้อมูลสนับสนุน
s:-
o: -ถ่ายอุจจาระวันละ 5-6 ครั้ง อุจจาระเป็นน้ำ
-มีไข้ T= 37.7 องศาเซลเซียส
-WBC = 12,590 cells/mm
-Neutrophil = 72.8%
-Lymphocyte = 18.1%

เป้าหมาย
ไม่เกิดภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์

เกณฑ์การประเมิน
-ผิวหนังชุ่มชื้น ความยืดหยุ่นของผิวหนังปกติ
-ปัสสาวะมากกว่า 30 cc/hr
-BP=มากกว่า 80/50 mmHg
-Na= 135-145 mmol/L
-K= 3.5-5 mmol/L

กิจกรรม
1.สังเกตภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์ เช่น ผิวหนังแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ตาลึกโบ๋ ปัสสาวะน้อย ซึม ตัวเย็น เป็นต้น
เพราะจะช่วยในการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะขาดน้ำได้
2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำ 5%DN/4 500 ml vein drip 50ml/hr
เพราะ 5%DN/4 เป็น Isotonic solution จะช่วยทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการถ่ายเหลว
3.ดูแลให้ ORS จิบบ่อยๆ
เพราะ ORS เป็นผงน้ำตาลเกลือแร่ผสมน้ำ ใช้ทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการถ่ายเหลว หรืออาเจียนป้องกันภาวะช็อก เนื่องจากร่างกายขาดน้ำ
4.บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออก และปริมาณของน้ำปัสสาวะ
เพราะเป็นการประเมินการสมดุลของน้ำเข้าออกของร่างกายและถ้าปัสสาวะออกน้อยอาจแสดงถึงภาวะขาดน้ำได้
5.วัด Vital sign ทุก 4 ชม. 
เพราะเป็นการประเมินสัญญาณชีพของร่างกายโดยเฉพาะความดันโลหิต ในเด็กถ้า BP ต่ำกว่า 80/50 mmHg แสดงถึงภาวะช็อคจากการขาดน้ำได้
6.ติดตามผล Lab Na K
เพราะ Na K เป็นค่าที่บ่งถึงเกลือแร่ภายในร่างกายและช่วยในการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะขาดน้ำและอิเล็คโทรลัยท์ได้

ถ่ายเหลวเนื่องจากมีการติดเชื้อทางเดินอาหาร

ถ่ายเหลวเนื่องจากมีการติดเชื้อทางเดินอาหาร

ข้อมูลสนับสนุน
s:-
o: -ถ่ายอุจจาระวันละ 5-6 ครั้ง อุจจาระเป็นน้ำ
-มีไข้ T= 37.7 องศาเซลเซียส
-WBC = 12,590 cells/mm
-Neutrophil = 72.8%
-Lymphocyte = 18.1%

เป้าหมาย
ไม่มีถ่ายเหลว ลดการติดเชื้อของทางเดินอาหาร

เกณฑ์การประเมินผล
-ลักษณะอุจจาระปกติ จำนวนการขับถ่ายอุจจาระน้อยลง
-อุณหภูมิร่างกาย 36.5 - 37.5 ํC
-WBC = 4,000-11,000 cells/mm
-Neutrophil = 40-74%
-Lymphocyte=19-48%

กิจกรรม
1.สังเกตและบันทึกจำนวนความถี่ และลักษณะอุจจาระ
เพราะจะช่วยในการประเมินความรุนแรงในการติดเชื้อทางเดินอาหาร
2.ดูแลให้ Bioflor 1 ซอง Oral  bid pc 
เพราะ Bioflor เป็นจุลินทรีย์ มีผลช่วยให้สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
3.แนะนำให้ล้างขวดนมและต้มให้สะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยากมีไขมัน กากใยสูง
เพราะจะช่วยลดการกระตุ้นการทำงานของลำไส้และไม่เกิดการติดเชื้อซ้ำ
4.วัดอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง
เพราะเป็นการประเมินระดับอุณหภูมิร่างกายถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 ํC อาจแสดงถึงภาวะติดเชื้อได้
5.แนะนำให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระ
เพราะเป็นการป้องการแพร่กระจายของเชื้อโรค
6.ติดตามผลการตรวจ WBC Neutrophil และ Lymphocyte
เพราะ WBC เป็นจำนวนเม็ดเลือดขาว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีค่าผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น จากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส Neutrophil จะพบสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อจำพวกแบคทีเรีย และ Lymphocyte จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลันหรือภาวะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรื้อรัง

3/3/57

เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

ข้อมูลสนับสนุน
  • ผู้ป่วยบอกเบื่ออาหาร
  • ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย
  • ผู้ป่วยอ่อนเพลีย
  • น้ำหนัก 47 kg ส่วนสูง 152 cms
  • BMI 20.34 
  • เยื่อบุตาล่างซีด
  • Albumin ต่ำ 1.4 mg%

เป้าหมาย
ไม่มีภาวะขาดสารอาหาร

เกณฑ์การประเมินผล
  • ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น แจ่มใส ไม่มีอาการอ่อนเพลีย
  • BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ 18.5 - 22.9
  • เยื่อบุตาล่างสีชมพู
  • Albumin 3.5 - 5 mg%

กิจกรรมการพยาบาล
  1. ประเมินภาวะขาดสารอาหาร เช่น อ่อนเพลีย เยื่อบุตาล่างซีด อาการบวมตามแขนขา
เพราะจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร
  1. ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลา ไข่ขาวและนม เป็นต้น
เพราะโปรตีนเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้ร่างกายและการกินโปรตีนคุณภาพสูงทำให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้เต็มที่ลดการทำงานของไตทำให้ของเสียเกิดขึ้นน้อย
  1. ดูแลทำความสะอาดช่องปากก่อนรับประทานอาหาร
เพราะเป็นการช่วยเพิ่มความอยากอาหารและรับประทานอาหารได้มากขึ้น
     4. อธิบายให้ญาติจัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้รับประทานแต่ไม่ขัดการรักษา เช่น จำกัดอาหารเค็ม จำโปแตสเซียม เช่น กล้วย ทุเรียน ฝรั่ง ผลไม้แห้ง เป็นต้น
เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มากขึ้นไม่ขาดสารอาหาร
  1. ชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
เพราะจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร
  1. ติดตามผล Lab Albumin
เพราะบ่งบอกถึงระดับโปรตีนในกระแสเลือด ถ้าต่ำกว่าปกติอาจเกิดจากขาดสารอาหารพวกโปรตีน

    

อาจเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากทางเดินหายใจตีบแคบ

อาจเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากทางเดินหายใจตีบแคบ

ข้อมูลสนับสนุน
  • Pt.มีโรคประจำเป็นหอบหืด
  • Hb =10.2 g/dl
  • Hct = 30.9%
เป้าหมาย
ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน

เกณฑ์การประเมินผล
1. Pt ไม่มีหายใจหอบ R = 16 -20/min
2. hb = 12-16 g/dl
3. hct =38-47%
4. O2 sat >= 95%

1.สังเกตอาการภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจหอบ ปลายมือปลายเท้าเขียว เป็นต้น
เพราะ การสังเกตภาวะพร่องออกซิเจนจะช่วยประเมินระดับความรุนแรงของภาวะพร่องซิเจนเพื่อพิจารณาในการให้การรักษาต่อไป
2.ดูแลให้ได้รับยา seretide 2 puff bid ตามแผนการรักษา
เพราะยา seretide จะช่วยในกานขยายหลอดลมไม่ให้หลอดลมตีบแคบ
3.ดูแลความสะอาดรอบเตียง
เพราะฝุ่นสิ่งสกปรกต่างๆ สามารถทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้
4.ดูแลไม่ให้เกิดความเครียด
เพราะความเครียดสามารถทำให้เกิดอาหารหอบหืดกำเริบได้
5.วัด O2 sat q 4 hr 
เพราะเป็นการวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง

ผู้ป่วยวิตกกังวลเนืองจากผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้ป่วยวิตกกังวลเนืองจากผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ข้อมูลสนับสนุน
  • ผู้ป่วยถามถึงวิธีการผ่าตัดลำไส้
  • ผู้ป่วยสีหน้าวิตกกังวล
  • ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้วันที่.........
  • ผลตรวจชิ้นเนื้อ

เป้าหมาย
ผู้ป่วยวิตกกังวลลดลงและปฏิบัติตนหลังผ่าตัดได้

เกณฑ์การประเมินผล
  • ผู้ป่วยสีหน้าวิตกกังวลลดลง
  • ผู้ป่วยเข้าใจในการปฎิบัติตนหลังผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาล
1. อธิบายเกี่ยวกับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กิจกรรมการดูแลผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยต้องเผชิญ
เพราะช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นและลดความวิตกกังวลลงได้
2. ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 5%DN/2 1000 ml v. drip 80 cc/ hr
3. ดูแลให้งดน้ำงดอาหารทางปากก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
เพราะเป็นการป้องกันการสำลักอาหารขณะผ่าตัด
เพราะสารน้ำจะช่วยชดเชยสารอาหารขณะงดน้ำงดอาหารทางปาก
4. สอนการไอการหายใจให้ผู้ป่วยปฎิบัติหลังกลับจากผ่าตัด
เพราะในการสอนให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ และไอ จะช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นและขับเสมหะออกมา ไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
5. หลังผ่าตัดแนะนำให้ผู้ป่วยลูกออกจากเตียงให้เร็วที่สุด
เพราะจะช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ เช่น อาเจียน ท้องอืด ปัสสาวะลำบาก

มีของเสียคั่งในกระแสเลือด เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง

มีของเสียคั่งในกระแสเลือด เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง

ข้อมูลสนับสนุน
BUN = 39 mg/dl
Cr = 1.44 mg/dl
GFR = 34.8 ml/min

เป้าหมาย
ของเสียในร่างกายลดลง ไม่เกิดอันตรายจากของเสียคั่ง

เกณฑ์การประเมินผล
  • ไม่มีอาการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น ปัสสาวะออกน้อย อ่อนเพลีย บวม คันตามตัว หอบเหนื่อย ความดันโลหิตสูง
  • BUN = 6-20 mg/dl
  • Cr = 0.51 - 0.95 mg/dl
  • BP = Systolic 140 - 90 mmHg Diastolic 90 - 60 mmHg


กิจกรรมการพยาบาล
1. สังเกตการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย บวม หายใจหอบ ความดันโลหิตสูง
เพราะการสังเกตของเสียคั่งในร่างกายจะช่วยในการประเมินความรุนแรงของของเสียคั่งในร่างกายและให้การรักษาอย่างเหมาะสม
2. จำกัดน้ำผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยจิบน้ำได้โดยไม่เกิน 500 ml
เพราะถ้าดื่มน้ำมากจะทำให้เกิดอาการบวมน้ำจากการที่ไตมีการกรองของเสียลดลง
3. บันทึกน้ำเข้า-ออก ทุก 8 ชม.
เพราะเป็นการประเมินความสมดุลของน้ำเข้าและน้ำออก
4. วัด vital sign ทุก 4 ชม.
เพราะเป็นการประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต เพราะผู้ป่วยที่มีของเสียคั่งในร่างกายจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้
5. ติดตามผล lab BUN Cr 
เพราะเป็นการประเมินการทำงานของไตในการกรองของเสีย

เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากมีความดันโลหิตสูง

เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากมีความดันโลหิตสูง

ข้อมูลสนับสนุน
  • ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปวดศีรษะบ่อย
  • BP = 172/90 mmHg

เป้าหมาย
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง

เกณฑ์การประเมิน
  • ไม่มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน
  • BP อยู่ในเกณฑ์ปกติ Systolic 140 - 90 mmHg Diastolic 90 -60 mmHg

กิจกรรมการพยาบาล
1. วัด BP ทุก 4 ชม
เพราะเป็นการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูงเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม
2. ประเมินอาการที่แสดงถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เช่น อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน คลื่นไส้อาเจียน ปากเบี้ยวพูดไม่ชัด พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง
เพราะอาการเหล่านี้คืออาการที่แสดงถึงภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอกเลือดสมองตีบแตก โรคไต จอตาบวมและมีเลือดออกทำให้ตาบอดได้
3. ดูแลให้ได้รับยา Amlodipine 5 mg 1 tab Oral bid pc ตามแผนการรักษา
เพราะยา Amlodipine เป็นยาที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลง
4. แนะนำผู้ป่วยให้ระมัดระวังการเปลี่ยนท่า
เพราะการเปลี่ยนท่าเร็วอาจทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงและเกิดอุบัติเหตุได้
5. แนะนำลดอาหารเค็มและลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารที่มีเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วและพวกทอด ผัด น้ำมัน
เพราะอาหารเค็มและอาหารที่ไขมันสูงจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้