3/3/57

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง

ข้อมูลสนับสนุน

  • ผู้ป่วยมีเสมหะสีเหลืองข้น
  • ผู้ป่วยหายใจ 24 ครั้ง/นาที
  • พบ Fine Crepitation at Right Lower Lobe
  • Chest X-ray ปอดพบ Infiltration Right Upper Lobe
  • Hct = ......
  • Hb =.....


เป้าหมาย
ไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

เกณฑ์การประเมินผล
  • ไม่มีอาการของภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเขียว 
  • อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 16-24  ครั้ง/นาทีลักษณะการหายใจปกติ ไม่มีการหายใจเร็ว  แรง  ลึก
  • ทางเดินหายใจโล่งไม่มีเสมหะ
  • Hb = 12 - 16 g/dl
  • Hct = 38 - 47 %
  • O2 sat >= 95%

กิจกรรมการพยาบาล
1. ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว   
เพราะอาการหายใจหอบ ชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว  แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน เพื่อรายงานแพทย์พิจารณาการให้ o2
2.จัดท่านอนศีรษะสูง 
เพราะทำให้กระบังคมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
3. ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง
เพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
4.สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะการไออย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ลดการคั่งค้างของเสมหะที่ปอดทำให้ปอดขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
5. vital sign ทุก 4 ชม
เพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
6. ประเมิน o2 saturation ทุก 4 ชม
เพราะเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
7. ติดตามผล lab hb hct และ Chest X-Ray
เพราะเป็นค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของเลือดในร่างกายและ Chest X-ray เป็นการประเมินความก้าวหน้าของการรักษาซึ่งอาจพบฝ้าขาวในปอดลดลงหรือเพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น