8/3/57

อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์เนื่องจากถ่ายเหลวจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร

อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์เนื่องจากถ่ายเหลวจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร

ข้อมูลสนับสนุน
s:-
o: -ถ่ายอุจจาระวันละ 5-6 ครั้ง อุจจาระเป็นน้ำ
-มีไข้ T= 37.7 องศาเซลเซียส
-WBC = 12,590 cells/mm
-Neutrophil = 72.8%
-Lymphocyte = 18.1%

เป้าหมาย
ไม่เกิดภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์

เกณฑ์การประเมิน
-ผิวหนังชุ่มชื้น ความยืดหยุ่นของผิวหนังปกติ
-ปัสสาวะมากกว่า 30 cc/hr
-BP=มากกว่า 80/50 mmHg
-Na= 135-145 mmol/L
-K= 3.5-5 mmol/L

กิจกรรม
1.สังเกตภาวะขาดสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์ เช่น ผิวหนังแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ตาลึกโบ๋ ปัสสาวะน้อย ซึม ตัวเย็น เป็นต้น
เพราะจะช่วยในการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะขาดน้ำได้
2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำ 5%DN/4 500 ml vein drip 50ml/hr
เพราะ 5%DN/4 เป็น Isotonic solution จะช่วยทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการถ่ายเหลว
3.ดูแลให้ ORS จิบบ่อยๆ
เพราะ ORS เป็นผงน้ำตาลเกลือแร่ผสมน้ำ ใช้ทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการถ่ายเหลว หรืออาเจียนป้องกันภาวะช็อก เนื่องจากร่างกายขาดน้ำ
4.บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออก และปริมาณของน้ำปัสสาวะ
เพราะเป็นการประเมินการสมดุลของน้ำเข้าออกของร่างกายและถ้าปัสสาวะออกน้อยอาจแสดงถึงภาวะขาดน้ำได้
5.วัด Vital sign ทุก 4 ชม. 
เพราะเป็นการประเมินสัญญาณชีพของร่างกายโดยเฉพาะความดันโลหิต ในเด็กถ้า BP ต่ำกว่า 80/50 mmHg แสดงถึงภาวะช็อคจากการขาดน้ำได้
6.ติดตามผล Lab Na K
เพราะ Na K เป็นค่าที่บ่งถึงเกลือแร่ภายในร่างกายและช่วยในการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะขาดน้ำและอิเล็คโทรลัยท์ได้

ถ่ายเหลวเนื่องจากมีการติดเชื้อทางเดินอาหาร

ถ่ายเหลวเนื่องจากมีการติดเชื้อทางเดินอาหาร

ข้อมูลสนับสนุน
s:-
o: -ถ่ายอุจจาระวันละ 5-6 ครั้ง อุจจาระเป็นน้ำ
-มีไข้ T= 37.7 องศาเซลเซียส
-WBC = 12,590 cells/mm
-Neutrophil = 72.8%
-Lymphocyte = 18.1%

เป้าหมาย
ไม่มีถ่ายเหลว ลดการติดเชื้อของทางเดินอาหาร

เกณฑ์การประเมินผล
-ลักษณะอุจจาระปกติ จำนวนการขับถ่ายอุจจาระน้อยลง
-อุณหภูมิร่างกาย 36.5 - 37.5 ํC
-WBC = 4,000-11,000 cells/mm
-Neutrophil = 40-74%
-Lymphocyte=19-48%

กิจกรรม
1.สังเกตและบันทึกจำนวนความถี่ และลักษณะอุจจาระ
เพราะจะช่วยในการประเมินความรุนแรงในการติดเชื้อทางเดินอาหาร
2.ดูแลให้ Bioflor 1 ซอง Oral  bid pc 
เพราะ Bioflor เป็นจุลินทรีย์ มีผลช่วยให้สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
3.แนะนำให้ล้างขวดนมและต้มให้สะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยากมีไขมัน กากใยสูง
เพราะจะช่วยลดการกระตุ้นการทำงานของลำไส้และไม่เกิดการติดเชื้อซ้ำ
4.วัดอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง
เพราะเป็นการประเมินระดับอุณหภูมิร่างกายถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 ํC อาจแสดงถึงภาวะติดเชื้อได้
5.แนะนำให้ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระ
เพราะเป็นการป้องการแพร่กระจายของเชื้อโรค
6.ติดตามผลการตรวจ WBC Neutrophil และ Lymphocyte
เพราะ WBC เป็นจำนวนเม็ดเลือดขาว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีค่าผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น จากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส Neutrophil จะพบสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อจำพวกแบคทีเรีย และ Lymphocyte จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลันหรือภาวะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรื้อรัง

3/3/57

เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

เสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

ข้อมูลสนับสนุน
  • ผู้ป่วยบอกเบื่ออาหาร
  • ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย
  • ผู้ป่วยอ่อนเพลีย
  • น้ำหนัก 47 kg ส่วนสูง 152 cms
  • BMI 20.34 
  • เยื่อบุตาล่างซีด
  • Albumin ต่ำ 1.4 mg%

เป้าหมาย
ไม่มีภาวะขาดสารอาหาร

เกณฑ์การประเมินผล
  • ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่น แจ่มใส ไม่มีอาการอ่อนเพลีย
  • BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ 18.5 - 22.9
  • เยื่อบุตาล่างสีชมพู
  • Albumin 3.5 - 5 mg%

กิจกรรมการพยาบาล
  1. ประเมินภาวะขาดสารอาหาร เช่น อ่อนเพลีย เยื่อบุตาล่างซีด อาการบวมตามแขนขา
เพราะจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร
  1. ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง เช่น ปลา ไข่ขาวและนม เป็นต้น
เพราะโปรตีนเป็นสารที่จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อให้ร่างกายและการกินโปรตีนคุณภาพสูงทำให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้เต็มที่ลดการทำงานของไตทำให้ของเสียเกิดขึ้นน้อย
  1. ดูแลทำความสะอาดช่องปากก่อนรับประทานอาหาร
เพราะเป็นการช่วยเพิ่มความอยากอาหารและรับประทานอาหารได้มากขึ้น
     4. อธิบายให้ญาติจัดหาอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้รับประทานแต่ไม่ขัดการรักษา เช่น จำกัดอาหารเค็ม จำโปแตสเซียม เช่น กล้วย ทุเรียน ฝรั่ง ผลไม้แห้ง เป็นต้น
เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มากขึ้นไม่ขาดสารอาหาร
  1. ชั่งน้ำหนักสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
เพราะจะทำให้ทราบถึงระดับความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร
  1. ติดตามผล Lab Albumin
เพราะบ่งบอกถึงระดับโปรตีนในกระแสเลือด ถ้าต่ำกว่าปกติอาจเกิดจากขาดสารอาหารพวกโปรตีน

    

อาจเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากทางเดินหายใจตีบแคบ

อาจเกิดภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากทางเดินหายใจตีบแคบ

ข้อมูลสนับสนุน
  • Pt.มีโรคประจำเป็นหอบหืด
  • Hb =10.2 g/dl
  • Hct = 30.9%
เป้าหมาย
ไม่มีภาวะพร่องออกซิเจน

เกณฑ์การประเมินผล
1. Pt ไม่มีหายใจหอบ R = 16 -20/min
2. hb = 12-16 g/dl
3. hct =38-47%
4. O2 sat >= 95%

1.สังเกตอาการภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจหอบ ปลายมือปลายเท้าเขียว เป็นต้น
เพราะ การสังเกตภาวะพร่องออกซิเจนจะช่วยประเมินระดับความรุนแรงของภาวะพร่องซิเจนเพื่อพิจารณาในการให้การรักษาต่อไป
2.ดูแลให้ได้รับยา seretide 2 puff bid ตามแผนการรักษา
เพราะยา seretide จะช่วยในกานขยายหลอดลมไม่ให้หลอดลมตีบแคบ
3.ดูแลความสะอาดรอบเตียง
เพราะฝุ่นสิ่งสกปรกต่างๆ สามารถทำให้อาการหอบหืดกำเริบได้
4.ดูแลไม่ให้เกิดความเครียด
เพราะความเครียดสามารถทำให้เกิดอาหารหอบหืดกำเริบได้
5.วัด O2 sat q 4 hr 
เพราะเป็นการวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง

ผู้ป่วยวิตกกังวลเนืองจากผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้ป่วยวิตกกังวลเนืองจากผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ข้อมูลสนับสนุน
  • ผู้ป่วยถามถึงวิธีการผ่าตัดลำไส้
  • ผู้ป่วยสีหน้าวิตกกังวล
  • ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลำไส้วันที่.........
  • ผลตรวจชิ้นเนื้อ

เป้าหมาย
ผู้ป่วยวิตกกังวลลดลงและปฏิบัติตนหลังผ่าตัดได้

เกณฑ์การประเมินผล
  • ผู้ป่วยสีหน้าวิตกกังวลลดลง
  • ผู้ป่วยเข้าใจในการปฎิบัติตนหลังผ่าตัด
กิจกรรมการพยาบาล
1. อธิบายเกี่ยวกับการผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่ กิจกรรมการดูแลผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยต้องเผชิญ
เพราะช่วยให้ผู้ป่วยได้ทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นและลดความวิตกกังวลลงได้
2. ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 5%DN/2 1000 ml v. drip 80 cc/ hr
3. ดูแลให้งดน้ำงดอาหารทางปากก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
เพราะเป็นการป้องกันการสำลักอาหารขณะผ่าตัด
เพราะสารน้ำจะช่วยชดเชยสารอาหารขณะงดน้ำงดอาหารทางปาก
4. สอนการไอการหายใจให้ผู้ป่วยปฎิบัติหลังกลับจากผ่าตัด
เพราะในการสอนให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ และไอ จะช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นและขับเสมหะออกมา ไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
5. หลังผ่าตัดแนะนำให้ผู้ป่วยลูกออกจากเตียงให้เร็วที่สุด
เพราะจะช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ เช่น อาเจียน ท้องอืด ปัสสาวะลำบาก

มีของเสียคั่งในกระแสเลือด เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง

มีของเสียคั่งในกระแสเลือด เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง

ข้อมูลสนับสนุน
BUN = 39 mg/dl
Cr = 1.44 mg/dl
GFR = 34.8 ml/min

เป้าหมาย
ของเสียในร่างกายลดลง ไม่เกิดอันตรายจากของเสียคั่ง

เกณฑ์การประเมินผล
  • ไม่มีอาการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น ปัสสาวะออกน้อย อ่อนเพลีย บวม คันตามตัว หอบเหนื่อย ความดันโลหิตสูง
  • BUN = 6-20 mg/dl
  • Cr = 0.51 - 0.95 mg/dl
  • BP = Systolic 140 - 90 mmHg Diastolic 90 - 60 mmHg


กิจกรรมการพยาบาล
1. สังเกตการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย บวม หายใจหอบ ความดันโลหิตสูง
เพราะการสังเกตของเสียคั่งในร่างกายจะช่วยในการประเมินความรุนแรงของของเสียคั่งในร่างกายและให้การรักษาอย่างเหมาะสม
2. จำกัดน้ำผู้ป่วยโดยให้ผู้ป่วยจิบน้ำได้โดยไม่เกิน 500 ml
เพราะถ้าดื่มน้ำมากจะทำให้เกิดอาการบวมน้ำจากการที่ไตมีการกรองของเสียลดลง
3. บันทึกน้ำเข้า-ออก ทุก 8 ชม.
เพราะเป็นการประเมินความสมดุลของน้ำเข้าและน้ำออก
4. วัด vital sign ทุก 4 ชม.
เพราะเป็นการประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต เพราะผู้ป่วยที่มีของเสียคั่งในร่างกายจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้
5. ติดตามผล lab BUN Cr 
เพราะเป็นการประเมินการทำงานของไตในการกรองของเสีย

เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากมีความดันโลหิตสูง

เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากมีความดันโลหิตสูง

ข้อมูลสนับสนุน
  • ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปวดศีรษะบ่อย
  • BP = 172/90 mmHg

เป้าหมาย
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง

เกณฑ์การประเมิน
  • ไม่มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว คลื่นไส้อาเจียน
  • BP อยู่ในเกณฑ์ปกติ Systolic 140 - 90 mmHg Diastolic 90 -60 mmHg

กิจกรรมการพยาบาล
1. วัด BP ทุก 4 ชม
เพราะเป็นการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูงเพื่อให้การรักษาที่เหมาะสม
2. ประเมินอาการที่แสดงถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เช่น อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน คลื่นไส้อาเจียน ปากเบี้ยวพูดไม่ชัด พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง
เพราะอาการเหล่านี้คืออาการที่แสดงถึงภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอกเลือดสมองตีบแตก โรคไต จอตาบวมและมีเลือดออกทำให้ตาบอดได้
3. ดูแลให้ได้รับยา Amlodipine 5 mg 1 tab Oral bid pc ตามแผนการรักษา
เพราะยา Amlodipine เป็นยาที่ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลง
4. แนะนำผู้ป่วยให้ระมัดระวังการเปลี่ยนท่า
เพราะการเปลี่ยนท่าเร็วอาจทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงและเกิดอุบัติเหตุได้
5. แนะนำลดอาหารเค็มและลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารที่มีเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วและพวกทอด ผัด น้ำมัน
เพราะอาหารเค็มและอาหารที่ไขมันสูงจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

มีของเสียคั่งในกระแสเลือด เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ในการกองของเสีย

มีของเสียคั่งในกระแสเลือด เนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ในการกองของเสีย

ข้อมูลสนับสนุน

  • BUN = 55 mg/dl
  • Cr = 4.25 mg/dl 
  • ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย



เป้าหมาย
ของเสียในร่างกายลดลง ไม่เกิดอันตรายจากของเสียคั่ง

เกณฑ์การประเมินผล
  • ไม่มีอาการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น ปัสสาวะออกน้อย อ่อนเพลีย บวม คันตามตัว หอบเหนื่อย ความดันโลหิตสูง
  • BUN = 6-20 mg/dl
  • Cr = 0.51 - 0.95 mg/dl
  • BP = Systolic 140 - 90 mmHg Diastolic 90 - 60 mmHg


กิจกรรมการพยาบาล
1. สังเกตการของเสียคั่งในร่างกาย เช่น อ่อนเพลีย บวม หายใจหอบ ความดันโลหิตสูง
เพราะการสังเกตของเสียคั่งในร่างกายจะช่วยในการประเมินความรุนแรงของของเสียคั่งในร่างกายและให้การรักษาอย่างเหมาะสม
2. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับโปรตีนที่คุณภาพดี เช่น ไข่ เนื้อปลา นม เป็นต้น
เพราะร่างกายจะนำเอาโปรตีนไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ทำให้มีของเสียเกิดขึ้นน้อย ไตจึงไม่ต้องทำงานหนัก
3. บันทึกน้ำเข้า-ออก ทุก 8 ชม.
เพราะเป็นการประเมินความสมดุลของน้ำเข้าและน้ำออก
4. วัด vital sign ทุก 4 ชม.
เพราะเป็นการประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะความดันโลหิต เพราะผู้ป่วยที่มีของเสียคั่งในร่างกายจะทำให้ความดันโลหิตสูงได้
5. ติดตามผล lab BUN Cr 
เพราะเป็นการประเมินการทำงานของไตในการกรองของเสีย

เซลล์ร่างกายอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากภาวะซีด

เซลล์ร่างกายอาจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากภาวะซีด

ข้อมูลสนับสนุน
  • ผู้ป่วยบ่นไม่มีแรง อ่อนเพลีย
  • เยื่อบุตาล่างซีด
  • ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
  • ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระบนเลือด 1 อาทิตย์ ก่อนมา รพ.
  • Hb = 12 g/dl 
  • Hct = 34% 
    
เกณฑ์การประเมินผล
  • ไม่มีอาการของภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเขียว 
  • ผู้ป่วยไม่มีอาการอ่อนเพลีย
  • เยื่อยุตาร่างสีชมพู
  • ไม่มีอุจจาระบนเลือด
  • Hb = 12 - 16 g/dl
  • Hct = 38 - 47 %
  • O2 sat >= 95%

เป้าหมาย
เซลล์ได้รับออกซิเจนเพียงพอ

การพยาบาล
1. ประเมินภาวะซีดจากการซักถามอาการเหนื่อยอ่อนเพลียของผู้ป่วย และอาการหายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเขียว
เพราะการประเมินภาวะซีดจะช่วยให้ทราบถึงความรุนแรงของภาวะซีดและอาการหายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเขียว แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน เพื่อรายงานแพทย์พิจารณาการให้ o2
2. ดูแลให้เลือด Pack red cell 1 unit ตามแผนการรักษา
เพราะการให้เลือดจะช่วยเพิ่มความเข้มข้นของเลือดซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจนทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลงได้
3. ดูแลให้ Folic 1 tab oral OD pc ตามแผนการรักษา
เพราะเป็นกรดโฟลิคช่วยร่างกายในการสร้างเม็ดเลือด โดยจะไปช่วยไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง
3. ดูให้รับประทานอาหารที่มีเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว เป็นต้น
เพราะเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบิลในการสร้างเม็ดเลือดแดง
4. ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง
เพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
5. vital sign ทุก 4 ชม
เพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
6. ประเมิน o2 saturation ทุก 4 ชม
เพราะเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
7. ติดตามผล lab hb hct
เพราะเป็นค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย

มีภาวะ Hypovolemic shock เนื่องจากเสียเลือดในทางเดินอาหารส่วนล่าง

มีภาวะ Hypovolemic shock เนื่องจากเสียเลือดในทางเดินอาหารส่วนล่าง


ข้อมูลสนับสนุน
  • ผู้ป่วยถ่ายดำปนเลือด 3 ครั้ง
  • ปัสสสาวะออกน้อย 1 ครั้ง
  • BP = 85/45 mmHg
  • hct = 29% (18/2/57)

เป้าหมาย
ไม่เกิดภาวะ Hypovolemic shock

เกณฑ์การประเมินผล
  • ไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อค เช่น ระดับความรู้สึกตัวลดลง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น
  • ชีพจร 60-100 ครั้ง/นาที
  • BP ไม่ต่ำกว่า 90/60 mmHg
  • จำนวนปัสสาวะมากกว่า 30 cc/hr
  • ผลการตรวจ Hct ไม่ต่ำกว่า 30%

กิจกรรมการพยาบาล
1.วัด Vital sign ทุก 1 ชม. และประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะช็อค เช่น ระดับความรู้สึกตัวลดลง กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น
เพราะเป็นการประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะชีพจร > 100 ครั้ง/นาที และ BP <90/60 mmHg แสดงถึงภาวะช็อคเพื่อจะได้ช่วยเหลือได้ทันท่วงที
2.ดูแลให้เลือด PRC 1 unit drip in 3 hr ตามแผนการรักษา
เพราะการให้เลือดจะช่วยเพิ่มความเข้มข้นของเลือดซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจน
  3. ท่านอนศีรษะต่ำ
เพราะช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับสู่สมอง หัวใจได้สะดวก
  4. ประเมินถ่ายเลือดปนดำ
เพราะช่วยประเมินปริมาณ จำนวน เลือดที่ถ่ายปนเลือดทำให้ทราบถึงความรุนแรงของภาวะเลือดออก
  5. บันทึกจำนวนปัสสาวะที่ออกทุกชั่วโมง
เพราะถ้าจำนวนปัสสาวะน้อยกว่า 30 cc/hr แสดงถึงภาวะช็อค
  6. ติดตามผล Lab Hct 
เพราะเป็นค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย

มีภาวะน้ำเกินเนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ในการกรอง ทำให้เกิดการคั่งของของเสียและน้ำ

มีภาวะน้ำเกินเนื่องจากไตสูญเสียหน้าที่ในการกรอง ทำให้เกิดการคั่งของของเสียและน้ำ

ข้อมูลสนับสนุน

  •  ผู้ป่วยมีโรงประจำตัวเป็นไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
  •  บวมตามแขนขา กดบุ๋ม +2
  •  ปัสสาวะออกน้อย 1 ครั้ง
  •  BUN = 55 mg/dl (15/2/57)
  •  Cr = 4.25 mg/dl (15/2/57)

เกณฑ์การประเมินผล
  • ไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย และนอนราบไม่ได้
  • อาการบวมลดลง
  • มีความสมดุลของน้ำเข้าและน้ำออก
  • BP = Systolic 140 -90 mmHg Diastolic 90-60 mmHg
  • BUN = 6-20 mg/dl
  • Cr = 0.51-0.95 mg/dl

กิจกรรมการพยาบาล
1.สังเกตอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้
เพราะอาการแสดงของอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้แสดงถึงภาวะน้ำเกินจากน้ำท่วมปอดและหัวใจวายได้
2.ดูแลให้ยาขับปัสสาวะ Lasix 500 mg Oral bid pc ตามแผนการรักษา
เพราะยา Lasix เป็นยาขับปัสสาวะช่วยในการรักษาอาการบวมและการคั่งของน้ำในร่างกาย
3.ดูแลจำกัดอาหารเค็ม เช่น อาหารที่มีส่วมผสมของเกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว อาหารหมักดอง และอาหารแปรรูปเป็นต้น
เพราะถ้ารับประทานอาหารเค็มจะทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำอวัยวะต่างๆ ทำให้แขนขาบวมเหนื่อยง่ายและภาวะหัวใจวายตามมาได้
4.บันทึกสารน้ำเข้า - ออก ทุก 8 ชม.
เพราะเป็นการประเมินการสมดุลของน้ำเข้าและออก ถ้าน้ำเข้ามากกว่าน้ำออกทำให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำเกินได้
5.วัด Vital sign ทุก 4 ชม.
เพราะเป็นการวัดสัญญาณชีพโดยเฉพาะความดันโลหิตซึ่งภาวะน้ำเกินอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย น้ำท่วมปอดและความดันโลหิตสูงได้
6.ติดตามผล Lab BUN Cr
เพราะเป็นการประเมินการทำงานของไตในการกรองของเสีย

มีไข้เนื่องจากมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

มีไข้เนื่องจากมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

ข้อมูลสนับสนุน
  • ผู้ป่วยมีเสมหะสีเหลืองข้น
  • T = 38 ํC
  • WBC = 19,700 cells/mm3
  • Neutrophil = 82.1%
  • Lymphocyte = 11.3%
  • Chest X-ray ปอดพบ Infiltration Right Upper lobe


เป้าหมาย
อุณหภูมิกายลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

เกณฑ์การประเมินผล
  • T = 36.5 - 37.5 ํC
  • WBC = 4,000 - 11,000 cells/mm3
  • Neutrophil = 46.5 - 75%
  • Lymphocyte = 12 - 44% 

กิจกรรมการพยาบาล
1.เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำธรรมดาอย่างนุ่มนวล
เพราะน้ำจะช่วยพาความร้อนออกจากร่างกายทางผิวหนังทำให้อุณหภูมิลดลงและทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น
2.ดูแลให้ยา Fortum 1 gm v injection และ Fortum 2 gm v drip ทุก 8 ชั่วโมง
เพราะเป็นยาปฏิชีวนะจะยับยั้งการสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรีย จะฆ่าเชื้อกรัมลบกรัมบวก anaerobes และ pseudomonas aeruginosa ได้ดี รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
3.ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อน
เพราะเป็นการลดอัตราการเผาผลาญภายในเซลล์ ลดการทำงานของกล้ามเนื้อ เป็นการลดการผลิตความร้อน ทำให้อุณหภูมิร่างกายลดลง
4.ดูแลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำบ่อยๆ
เพราะเป็นการทดแทนการขาดน้ำและเป็นการลดความร้อนของร่างกายโดยการขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะ
5.ล้างมือทุกครั้ง ก่อน-หลังให้การพยาบาลหรือการสัมผัสกับสารคัดหลั่งผู้ป่วย และให้การพยาบาลโดยใช้หลัก Aseptic Technique 
เพราะเป็นการลดการแพร่กระจายเชื้อ
6. vital sign ทุก 4 ชม
เพราะการประเมินสัญญาณชีพ โดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกายจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของการติดเชื้อทางเดินหายใจ
7.ติดตามผล Lab WBC Neutrophil Lymphocyte
เพราะ WBC เป็นจำนวนเม็ดเลือดขาว ซึ่งส่วนใหญ่มักจะมีค่าผิดปกติเมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย เช่น จากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส Neutrophil จะพบสูงขึ้นในภาวะติดเชื้อจำพวกแบคทีเรีย และ Lymphocyte จะพบสูงขึ้นในภาวะที่มีการติดเชื้อไวรัสอย่างเฉียบพลันหรือภาวะที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่เรื้อรัง

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง

เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง

ข้อมูลสนับสนุน

  • ผู้ป่วยมีเสมหะสีเหลืองข้น
  • ผู้ป่วยหายใจ 24 ครั้ง/นาที
  • พบ Fine Crepitation at Right Lower Lobe
  • Chest X-ray ปอดพบ Infiltration Right Upper Lobe
  • Hct = ......
  • Hb =.....


เป้าหมาย
ไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

เกณฑ์การประเมินผล
  • ไม่มีอาการของภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเขียว 
  • อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 16-24  ครั้ง/นาทีลักษณะการหายใจปกติ ไม่มีการหายใจเร็ว  แรง  ลึก
  • ทางเดินหายใจโล่งไม่มีเสมหะ
  • Hb = 12 - 16 g/dl
  • Hct = 38 - 47 %
  • O2 sat >= 95%

กิจกรรมการพยาบาล
1. ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว   
เพราะอาการหายใจหอบ ชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว  แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน เพื่อรายงานแพทย์พิจารณาการให้ o2
2.จัดท่านอนศีรษะสูง 
เพราะทำให้กระบังคมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
3. ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียง
เพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
4.สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ
เพราะการไออย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ลดการคั่งค้างของเสมหะที่ปอดทำให้ปอดขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
5. vital sign ทุก 4 ชม
เพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
6. ประเมิน o2 saturation ทุก 4 ชม
เพราะเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
7. ติดตามผล lab hb hct และ Chest X-Ray
เพราะเป็นค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของเลือดในร่างกายและ Chest X-ray เป็นการประเมินความก้าวหน้าของการรักษาซึ่งอาจพบฝ้าขาวในปอดลดลงหรือเพิ่มขึ้น